วันศุกร์ที่ 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

ประวัติพระธาตุศรีสองรัก



พระธาตุศรีสองรัก
ตั้งอยู่ริมฝั่งแม่น้ำหมัน ห่างจากตัวอำเภอประมาณ 1 กม. หรือห่างจากตัวจังหวัด 83 กม. ไปตามทางหลวงหมายเลข 203 แล้วแยกขวาตรงกม.ที่ 66 เข้าทางหลวงหมายเลข 2013 อีก 15 กม. จากนั้นแยกขวาเข้าเส้นทาง 2113 อีก 1 กม. พระธาตุศรีสองรักมีรูปทรงสัณฐาน คล้ายพระธาตุพนม มีงานนมัสการใหญ่โตทุกปีในช่วงเดือน 6 มีประชาชนเคารพนับถือมาก นอกจากนี้ภายในวัดยังมีพระพุทธรูปปางนาคปรกศิลปะธิเบตด้วย
สร้างเมื่อ พ.ศ.2103 แล้วเสร็จเมื่อ พ.ศ. 2106 ในสมัยแผ่นดินสมเด็จพระมหาจักรพรรดิ์แห่งกรุงศรีอยุธยาเพื่อเป็นสักขีพยานแสดงความสัมพันธ์อันดีงามระหว่างกัน กับพระเจ้าไชยเชษฐาธิราชแห่งกรุงศรีสัตนาคนหุต (เวียงจันทร์)ประวัติความเป็นมาของพระธาตุศรีสองรักพระธาตุศรีสองรัก เป็นเจดีย์ที่ก่อด้วยอิฐถือปูนมีฐานเป็นเหลี่ยมจัตุรัส ขนาดกว้างด้านละประมาณ 8 เมตร สูงประมาณ 32 เมตร อยู่ห่างจากที่ตั้งจังหวัดเลยไปทางทิศตะวันตกประมาณ 1กิโลเมตรและอยู่ห่างจากที่ตั้งจังหวัดเลยไปทางทิศตะวันตก ประมาณ 83 กิโลเมตร องค์พระเจดีย์ตั้งอยู่ในวัดพระธาตุศรีสองรักบนเนินริมน้ำหมัน ซึ่งเป็นวัดที่ไม่มีพระภิกษุพำนักอยู่ในวัดนอกจากองค์พระเจดีย์แล้ว ถัดไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือมีโบสถ์ 1 หลัง ภายในโบสถ์มีพระพุทธรูปนาคปรก 1 องค์ และพระพุทธรูปอื่น ๆ อีกบ้าง และถัดองค์พระเจดีย์ไปทางทิศตะวันตกมีศิลาจารึก 1 แผ่น ซึ่งจารึกตำนานการสร้างพระธาตุศรีสองรักด้วยอักษรธรรมอยู่ด้วย

ที่มา http://www.thai-tour.com

ประวัติศาสตร์เมืองเชียงแสน




ประวัติความเป็นมา
เมืองเชียงแสน เป็นเมืองโบราณที่มีอายุเก่าแก่ที่สุดเมืองหนึ่งของแคว้นล้านนา จากหลักฐานด้าน ประวัติศาสตร์และโบราณคดี แสดงให้เห็นว่าเมืองเชียงแสนเป็นเมืองที่มีพัฒนาการมายาวนาน เนื่องจากเป็นเมือง ที่มีทำเลที่ตั้งเหมาะสมจึงส่งผลให้มีความสำคัญทางด้านเศรษฐกิจ การปกครอง ศาสนา และศิลปกรรม ได้มีการพบหลักฐานการตั้งถิ่นฐานของมนุษย์สมัยก่อนประวัติศาสตร์ในยุคหินเก่าด้วย กลุ่มสิงหนวัติ เป็นกลุ่มคนไทกลุ่มแรก ที่เข้ามาสร้างบ้านแปงเมือง บริเวณที่ราบลุ่มแม่น้ำกก ชื่อเมือง "โยนกนาคพันธสิงหนวัติ" มีกษัตริย์ผู้สืบเชื้อสายปกครองต่อๆ กันมา จนกระทั่งสมัยของพระเจ้าพรหมสามารถ รวบรวมบ้านเมือง และขยายขอบเขตของแคว้นโยนกออกไปได้หลายพื้นที่ คือ เมืองไชยปราการ (เขตอำเภอฝาง จังหวัดเชียงใหม่) เมืองไชยนารายณ์ (เขตอำเภอเวียงชัย จังหวัดเชียงราย) และเวียงพางคำ (เขตอำเภอแม่สาย จังหวัดเชียงราย) จนกระทั่งเมืองโยนกล่มสลายลงต่อมาโดยการนำของพ่อบ้านชื่อ "ขุนลัง" ได้พากันออกไปสร้างบ้านแปงเมืองขึ้นใหม่ บริเวณปากแม่น้ำกกชื่อว่า "เวียงปรึกษา"

ที่มา http://www.banrongkhun.com

ประวัติเมือง เชียงใหม่




" นพบุรีศรีนครพิงค์เชียงใหม่ " หรือจังหวัดเชียงใหม่ในปัจจุบัน เป็นเมืองที่มีเรื่องราวความเป็นมาในอดีตมากมาย ดังในหลักฐานจารึก ปรากฎหลักฐานเริ่มขึ้นในสมัย พญามังรายกษัตริย์องค์ที่ 25 แห่งราชวงศ์ลาว เชื้อสายปู่เจ้า ลาวจก ได้ทรงเสด็จขึ้นครองราชย์ที่เมืองเงินยางเชียงแสนพระองค์ทรงรวบรวมหัวเมืองต่างๆ และได้ทรงขยายอำนาจลงไปทางใต้ โดยได้สร้างเมืองเชียงรายขึ้นเป็นศูนย์กลางของการรวบรวมเมืองเล็กๆในแถบลุ่มน้ำกก และตั้งแคว้นขึ้น ชื่อว่า แคว้นโยน หรือโยนก จากนั้น
พระองค์ทรงขยายอำนาจเข้าสู่ลุ่มน้ำปิงเพื่อยึดครองแคว้น หริภูญไชย พระองค์ทรงใช้เวลานานถึง 8 ปีจึงสามารถตี แคว้นหริภุญไชยได้ต่อมาพระองค์ทรงผนวกหริภูญไชยเข้าเป็นส่วนหนึ่งของแคว้นโยนก กลายมาเป็น อาณาจักรล้านนา ที่เรารู้จักกันในปัจจุบัน
ต่อมาในปีพุทธศักราช 1837 พญามังรายได้สร้างเมืองใหม่ขึ้นทางเหนือ ของแคว้นหริภุญไชย แต่บริเวณดังกล่าวเกิด น้ำท่วมบ่อยครั้ง (เวียงกุมกามในปัจจุบัน)
พระองค์จึงตั้งเมืองแห่งใหม่ และที่เหมาะสมบริเวณที่ราบลุ่มแม่น้ำปิงเชิงดอยสุเทพ ซึ่งเป็นบริเวณที่สะดวกในการทำการค้าขาย
ทั้งทางบกและทางน้ำ และยังง่ายต่อการควบคุมหัวเมืองต่างๆ
ในปี พ.ศ. 1839 พญามังรายได้เชิญพระสหาย คือ พญางำเมือง และ พญาร่วง
( พ่อขุนรามคำแหง)มาหารือเรื่องการวางผังสร้างเมืองและทั้งสามพระองค์
ก็ได้ร่วมสถาปนาเมืองแห่งนี้ว่า"นพบุรีศรีนครพิงค์เชียงใหม่" พญามังรายได้พัฒนาทั้งการก่อสร้างวัดวาอาราม มีการตรากฎหมายที่เรียกว่า "มังรายศาสตร์"รวมถึงรับเอาพุทธศาสนานิกายลังกาวงศ์เข้ามาเผยแพร่ในอาณาจักร
ซึ่งทำให้พระภิกษุในล้านนาสนใจศึกษาพระพุทธศาสนาเป็นอย่างมาก สมัยพระเจ้าติโลกราชกษัตริย์องค์ที่9อาณาจักรของล้านนาได้ขยายออกไปอีกอย่างกว้างขวางพร้อมกับได้ผูกสัมพันธไมตรีกับสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถแห่งกรุงศรีอยุธยาซึ่งในสมัยพระเจ้าติโลกราชนี้เองที่ได้มีการสังคายนาพระไตรปิฏกขึ้นเป็นครั้งแรกในประเทศไทยอาณาจักรลานนาเริ่มเสื่อมลงในปลายสมัยพญาเมืองแก้ว
เนื่องจากทำสงครามกับเชียงตุงพ่ายแพ้และเสียชีวิตไพร่พลเป็นอันมาก ประกอบกับอุทกภัย กระทบถึงความมั่นคงของอาณาจักรเมืองในการปกครองเริ่มตีตัวออกห่าง ในปี พ.ศ.2101 ในสมัยพระมหาเทวีจิรประภา กษัตริย์องค์ที่ 15พม่าได้ยกกองทัพมาตีเชียงใหม่ เพียงสามวันก็เสียเมืองและกลายเป็นเมืองขึ้นของพม่ายาวนานถึง 216 ปีต่อมาในปี พ.ศ.2317 พญาจ่าบ้านและพระเจ้ากาวิละ ได้ร่วมกันต่อต้านพม่า และอัญเชิญสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช แห่งกรุงธนบุรี ยกทัพขับไล่พม่าพ่ายแพ้ไป ต่อมาสมัยสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ได้ทรงแต่งตั้งพระเจ้ากาวิละขึ้นครองเมืองในฐานะเมืองประเทศราช พระเจ้ากาวิละได้ทรงพื้นฟูเมืองเชียงใหม่ จนมีอาณาเขตกว้างขวาง การค้าขายรุ่งเรือง ขณะเดียวกันก็จัดส่งบรรณาการ ส่วยสิ่งของและอื่นๆ ให้แก่กรุงรัตนโกสินทร์ซึ่งยังมีอำนาจในการแต่งตั้งตำแหน่งเจ้าเมืองและขุนนางระดับล่วงมาถึงสมัยราชการที่5 เมื่ออิทธิพลตะวันตกแผ่เข้ามาในเมืองไทย
มีการปฏิรูปการปกครอง โดยผนวกดินแดนล้านนาเข้ากับมณฑลพายัพ แต่ก็ยังเป็นเมืองประเทศราชในอาณัติราชอาณาจักรสยาม ตรงกับสมัยของเจ้าอินทวิชยานนท์ และราชการที่5ได้ทรงขอเจ้าดารารัศมี ธิดาของเจ้าอินทวิชยานนท์ไปเป็นชายา เจ้าดารารัศมีเป็น
ผู้ทำให้ความสัมพันธ์ระหว่างสองอาณาจักรใกล้ชิดกันยิ่งขึ้น เมื่อมีการสร้างทางรถไฟขึ้นในเวลาต่อมา ส่งผลให้ตัวเมืองเชียงใหม่
ขยายตัวยิ่งขึ้นและใกล้ชิดกรุงเทพฯ มากขึ้น ในปี พ.ศ.2475เกิดการเปลี่ยนแปลงการปกครอง มณฑลเทศภิบาลถูกยกเลิกเชียงใหม่มีฐานะเป็นจังหวัดหนึ่ง ของประเทศไทย หลังจากนั้นเชียงใหม่พัฒนาขึ้นเรื่อยๆจนกลายเป็นจังหวัดใหญ่ที่สำคัญ
รองลงมาจากกรุงเทพฯเท่านั้น

ที่มา http://www.chiangmai-guideline.com

ประวัติเมือง หลวงพระบาง





ลาว...ประเทศเล็กๆ ที่มีประชากรประมาณห้าล้านคน แม้จะน้อยนักแต่หากว่าลาวมีแผ่นดินที่กว้างใหญ่กว่า 236,800 ตารางกิโลเมตร เป็นอาณาจักรแห่งขุนเขาและสายน้ำที่ยังสมบูรณ์ดังเช่นครั้งหนึ่งไทยเราเคยมี

• นานมาแล้วที่นักเดินทาง นักท่องเที่ยวใฝ่ฝันถึงหลวงพระบางหรืออาณาจักรล้านช้าง ในอดีตเดิมทีหลวงพระบางเคยเป็นเมืองหลวงเก่าของลาวมาก่อน เมื่อองค์การยูเนสโก้ยกให้หลวงพระบางเป็นเมืองมรดกโลก ชื่อของหลวงพระบางจึงขจรขจายไปไกล การท่องเที่ยวเมืองหลวงพระบางจึงมีชื่อเสียงมากที่สุดของลาวก็ว่าได้

• "ตัวเมืองอันสงบ อบอุ่นด้วยรอยยิ้มและมิตรไมตรี" ตัวเมืองหลวงพระบางนั้นตั้งอยู่ริมแม่น้ำคานไหลมาบรรจบกับแม่น้ำโขงช่วงที่คดโค้งสวยงาม หันไปทางไหนแลเห็นแต่สีเขียวจากป่าดงพงไพร
นานมาแล้วที่เมืองหลวงพระบางเป็นเมืองหลวง พระเจ้าฟ้างุ้มได้รวบรวมแว่นแคว้นต่างๆของชนเผ่าไท-ลาวในเขตลุ่มน้ำโขง แม่น้ำคาน แม่น้ำอู ก่อตั้งอาณาจักรล้านช้าง ณ ดินแดนริมน้ำโขงซึ่งคือหลวงพระบาง เมื่อปี พ.ศ. 1896 – 1916 โดยการช่วยเหลือของกษัตริย์ขอม (เพราะมเหสีของเจ้าฟ้างุ้มคือพระราชธิดาของกษัตริย์ขอมในขณะนั้น) พร้อมๆกับการรับเอาพุทธศาสนาเข้ามาแทนการนับถือผี

ลาว เป็นประเทศหนึ่งที่สืบเชื้อสายบรรพบุรุษเดียวกับชาวไทย แต่ลาวมีชนกลุ่มน้อยมากมายหลายเผ่า ลาวแท้ๆ มีเพียง 50 เปอร์เซนต์เท่านั้น ซึ่งมักจะอาศัยอยู่ที่ราบริมน้ำโขง ส่วนชาวเขานิยมอยู่บนเทือกเขา

• แรกทีเดียวอาณาจักรล้านช้างมีชื่อเรียกวาส “เมืองชวา” อันเนื่องมาจากมีชาวชวาอาศัยอยู่มากกว่ากลุ่มอื่น ในปี พ.ศ. 1900 เปลี่ยนมาเป็นชื่อ เมืองเชียงทอง กระทั่งกษัตริย์ขอมได้พระราชทานพระพุทธรูปองค์หนึ่ง มีชื่อว่า พระบาง เป็นพระพุทธรูปศิลปะสิงหล เจ้าฟ้างุ้มจึงทรงเปลี่ยนชื่อเมืองเป็น “หลวงพระบาง”

• ปี พ.ศ. 2088 พระเจ้าโพธิสารราชเจ้า โปรดฯ ให้ย้ายเมืองหลวงของอาณาจักรล้านช้างไปอยู่ที่เมืองเวียงจันทน์ แม้หลวงพระบางจะไม่ได้เป็นเมืองหลวงต่อไป แต่เจ้ามหาชีวิตยังคงประทับที่หลวงพระบาง

• ต่อมาอาณาจักรล้านช้างแตกออกเป็นสามอาณาจักร คือ

1.อาณาจักรล้านช้างหลวงพระบาง
2.อาณาจักรล้านช้างเวียงจันทน์
3.อาณาจักรล้านช้างจำปาศักดิ์

• กษัตริย์แห่งอาณาจักรล้านช้าง ยังคงสืบทอดราชบัลลังก์กระทั่งถึงยุคสิ้นสุดของราชวงศ์อันมีสาเหตุหลักมาจากตกเป็นเมืองขึ้นของสยาม เวียตนามและฝรั่งเศส

• เหตุนี้เองหลวงพระบางจึงมาความเป็นมายาวนาน เป็นราชธานีเก่าแก่ วัดวาอารามมากมาย และมีธรรมชาติที่วิเศษ

หลวงพระบางได้รับการขึ้นทะเบียนให้เป็นมรดกโลกด้วยเหตุผล คือมีวัดวาอารามเก่าแก่มากมาย มีบ้านเรืออันเป็นเอกลักษณ์โคโลเนียลสไตล์ ตัวเมืองตั้งอยู่ริมน้ำโขงและน้ำคาน ซึ่งไหลบรรจบกันท่ามกลางธรรมชาติอันงดงาม และชาวหลวงพระบางมีบุคลิกที่ยิ้มแย้มแจ่มใส เป็นมิตร มีขนบธรรมเนียมประเพณีที่งดงาม

• ในขณะที่มรดกโลกแห่งอื่นอาจได้ขึ้นทะเบียนอย่างจำเพาะเจาะจงในโบราณสถาน ธรรมชาติ แต่หลวงพระบางทั้งเมือง ได้รับการขึ้นทะเบียนให้เป็นมรดกของมวลมนุษยชาติเมื่อเดือนธันวาคม พ.ศ. 2538 และยังได้รับการยกย่องว่าเป็นเมืองที่ได้รับการปกปักรักษาที่ดีที่สุดในเอเชียตะวันออกเชียงใต้

• ปัจจุบันเมืองหลวงพระบางมีประชากรประมาณห้าแสนคน ประชากรส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรม
ที่ตั้ง : หลวงพระบาง ตั้งอยู่ทางเหนือของนครเวียงจันทน์ ระยะทางประมาณ 400 กิโลเมตร เชื่อมต่อถึงกันด้วยทางหลวงหมายเลข 13 ใช้เวลาเดินทางราว 8 – 10 ชั่วโมงด้วยกันด้วยถนนที่ไม่ดีนัก มีเครื่องบินจากนครเวียงจันทน์ถึงหลวงพระบางโดยสายการบินลาว ใช้เวลาบินประมาณ 45 นาที ที่เที่ยวที่เด่นๆ

สถานที่ท่องเที่ยวส่วนใหญ่ในหลวงพระบาง ซึ่งเป็นราชธานีเก่าแก่ คือการเที่ยววัด ซึ่งมีศิลปะงดงาม มีขนากระทัดรัดไม่ใหญ่โต แม้ว่าจะมีวัดต่างๆมากมายถึง 40 วัด แต่ที่เที่ยวชมเด่นๆ จะอยู่ที่วัดเชียงทอง วัดภูษี วัดวิชุนราช วัดใหม่สุวรรณภูมาราม พระราชวังหลวง ถ้ำติ่ง น้ำตกกวางชี ช่วงท้ายๆ หามีเวลาเหลือมักจะไปซื้อของฝาก ในตลาดหรือในหมู่บ้านต่างๆ


เมืองหลวงพระบาง เป็นเมืองเอกของแขวงหลวงพระบาง สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว อยู่ทางภาคเหนือของประเทศ ตั้งอยู่ริมแม่น้ำโขงและแม่น้ำคาน ซึ่งไหลมาบรรจบกัน เป็นเมืองที่องค์การยูเนสโกได้ยกย่องให้เป็นมรดกโลกด้วย

ที่มา http://luangprabang.sadoodta.com

ความเสื่อมของอาณาจักรสุโขทัย




อาณาจักร สุโขทัยมีการพัฒนาความเจริญรุ่งเรืองของบ้านเมืองมาโดยตลอด โดยเฉพาะสมัยกรุงสุโขทัยตอนต้น ในสมัยพ่อขุนรามคำแหงมหาราช ทรงวาง รากฐานการปกครองแบบปิตุราชา (พ่อปกครองลูก) และในสมัยกรุงสุโขทัย ตอนปลาย ได้นำหลักธรรมมาใช้ในการปกครอง เป็นการปกครองแบบธรรมราชา ทำให้อาณาจักรสุโขทัยมีกำลังทหารเข้มแข็ง จนกระทั่งสิ้นสมัยพ่อขุนรามคำ แหงมหาราช อาณาจักรสุโขทัยเริ่มเสื่อมอำนาจและสูญเสียอำนาจโดยถูกผนวก เข้า เป็นส่วนหนึ่งของอาณาจักรอยุธยาในที่สุด เนื่องมาจากสาเหตุดังนี้

๑. การแตกแยกทางการเมืองภายในราชธานี เป็นปัญหาสืบเนื่องมาจากการ แย่งชิงอำนาจ ระหว่างเจ้านายในราชวงศ์ของอาณาจักรสุโขทัย จนถึงมีการ รบพุ่งกันเองทำให้เกิดความอ่อนแอทางการเมืองภายในราชธานี เป็นเหตุให้ อาณาจักรอยุธยาเข้าแทรกแซงอำนาจได้

๒. สุโขทัยมีการปกครองแบบกระจายอำนาจที่หละหลวม พระมหากษัตริย์ของ อาณาจักรสุโขทัย ได้ให้อำนาจกับเจ้าเมืองต่างๆ ในการบริหารและควบคุม กำลังคนภายในเมืองของตนอย่างเต็มที่ เป็นเหตุให้หัวเมืองเหล่านั้นแยกตัว เป็นอิสระได้โดยง่าย

๓. สุโขทัยมีข้อเสียเปรียบทางเศรษฐกิจ เนื่องจากสุโขทัยมีสภาพที่ตั้งลึกเข้า ไปในแผ่นดินซึ่งอยู่ห่างจากทะเลมาก ทำให้ไม่มีเมืองท่าเป็นของตนเอง เมื่อมี ีการแลกเปลี่ยนซื้อขายสินค้ากับต่างชาติ ต้องอาศัยผ่านเมืองเมาะตะมะ หรือ ผ่านเมืองต่างๆ ตามแม่น้ำเจ้าพระยา ไปสู่ทะเลอ่าวไทย

๔. อาณาจักรอยุธยาก่อตั้งขึ้นบริเวณลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา อาณาจักรอยุธยาที่ ก่อตั้งขึ้นบริเวณลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาตอนล่าง มีกำลังทหารและเศรษฐกิจที่ เข้มแข็งกว่าสุโขทัย ต่อมาอาณาจักรอยุธยาได้ยกทัพมาตีอาณาจักรสุโขทัย จน ได้เป็นประเทศราช และต่อมาอาณาจักรสุโขทัยถูกผนวกเข้าเป็นส่วนหนึ่งของ อาณาจักรอยุธยาในปี พ.ศ. ๑๙๘๑

ที่มา http://www.sema.go.th

การสถาปนาอาณาจักรสุโขทัย






อาณาจักรสุโขทัยเป็นอาณาจักรของคนไทยที่ได้รับการสถาปนาขึ้นใน พ.ศ. 1792 ก่อนหน้าที่จะมีการสถาปนาอาณาจักรสุโขทัยขึ้นมานั้น สุโขทัยเป็นเมืองเก่าแก่ที่มีความเจริญรุ่งเรืองมาก่อน จากการตีความในศิลาจารึกหลักที่ 2 (วัดศรีชุม) พอจะสรุปความได้ว่า เมืองสุโขทัยแต่เดิมมีผู้นำคนไทยชื่อ พ่อขุนศรีนาวนำถุม เป็นเจ้าเมืองปกครองอยู่ เมื่อพระองค์สิ้นพระชนม์ ขอมสบาดโขลญลำพง ขุนนางขอมได้นำกำลังเข้ายึดกรุงสุโขทัยไว้ได้
เมื่อพวกขอมเริ่มเสื่อมอำนาจลง ในปี พ.ศ. 1780 ได้มีผู้นำ 2 ท่าน คือ พ่อขุนบางกลางหาว และพ่อขุนผาเมือง ซึ่งเป็นผู้นำคนไทยได้ร่วมมือกันรวบรวมกำลังเข้าขับไล่ขอมออกจากดินแดนแถบนี้และตั้งตนเป็นอิสระ พร้อมกับสถาปนากรุงสุโขทัยเป็นราชธานีของอาณาจักรไทย และได้สถาปนาพ่อขุนบางกลางหาวขึ้นเป็นกษัตริย์ปกครองกรุงสุโขทัยทรงพระนามว่า พ่อขุนศรีอินทราทิตย์ นับเป็นปฐมกษัตริย์แห่งราชวงศ์สุโขทัยหรือราชวงศ์พระร่วง นับตั้งแต่ พ.ศ. 1792 เป็นต้นมา

ปัจจัยที่เอื้อต่อการสถาปนาอาณาจักรสุโขทัยเป็นราชธานี มีดังนี้
1. ปัจจัยภายใน ได้แก่ การมีขวัญและกำลังใจดีของประชาชนเนื่องจากมีผู้นำที่เข้มแข็งและมีความสามารถ การมีนิสัยรักอิสระ ไม่ชอบให้ผู้ใดมากดขี่ข่มเหง บังคับและบ้านเมืองมีความอุดมสมบูรณ์
2. ปัจจัยภายนอก ได้แก่ การเสื่อมอำนาจของขอม หลังจากที่พระเจ้าชัยวรมันที่ 7 สิ้นพระชนม์ลง กษัตริย์องค์ต่อมาไม่สามารถรักษาอำนาจของตนในดินแดนที่ยึดครองมาได้ ทำให้หัวเมืองต่าง ๆ พากันตั้งตนเป็นอิสระ

ระยะเริ่มต้นของการสถาปนากรุงสุโขทัยเป็นราชธานี โดยเฉพาะในสมัยพ่อขุนศรีอินทราทิตย์ บ้านเมืองยังไม่มั่นคงมากนัก คนไทยยังอยู่กันอย่างกระจัดกระจาย บางเมืองยังคงมีอิสระในการปกครองตนเอง ไม่มีการรวมอำนาจไว้ ณ ศูนย์กลางเมืองใดเมืองหนึ่งโดยตรง บางครั้งจึงมีการทำสงครามกันเพื่อแย่งชิงอำนาจและขยายอาณาเขตของเมือง เช่น ขุนสามชนเจ้าเมืองฉอดได้ยกทัพมาตีเมืองตาก
เมื่อสิ้นรัชสมัยของพ่อขุนศรีอินทราทิตย์ พระราชโอรสองค์ใหญ่ คือ พ่อขุนบานเมือง ได้ขึ้นครองราชย์ สมัยนี้สุโขทัยได้ขยายอำนาจทางการเมืองด้วยการทำสงครามกับหัวเมืองต่าง ๆ โดยมีพระอนุชา คือ พระรามคำแหง เป็นกำลังสำคัญ ซึ่งต่อมาพระองค์ได้ขึ้นครองราชย์สืบต่อจากพ่อขุนบานเมือง
ในสมัยพ่อขุนรามคำแหง พระองค์ทรงเป็นแม่ทัพไปปราบเมืองต่าง ๆ จนเป็นที่เกรงขามของอาณาจักรอื่น ๆ ดังนั้นเมื่อพระองค์ขึ้นครองราชย์จึงมีหลายเมืองที่ยอมอ่อนน้อมเข้ารวมอยู่กับอาณาจักรสุโขทัย โดยพ่อขุนรามคำแหงมหาราชมิได้ส่งกองทัพไปรบ ได้แก่ เมืองหงสาวดี เมืองสุพรรณบุรี เมืองเพชรบุรี เมืองราชบุรี เมืองหลวงพระบาง เมืองเวียงจันทน์ และเมืองนครศรีธรรมชาติ ทำให้อาณาจักรสุโขทัยมีอาณาเขตแผ่ขยายออกไปกว้างขวางมาก ดังปรากฏในศิลาจารึกหลักที่ 1 ดังนี้
ทิศเหนือ ครอบคลุมเมืองแพร่ น่าน พลัว จนถึงเมืองหลวงพระบาง
ทิศใต้ ครอบคลุมเมืองคณฑี (กำแพงเพชร) พระบาง (นครสวรรค์) แพรก (ชัยนาท) สุพรรณบุรี ราชบุรี เพชรบุรี นครศรีธรรมราช จนถึงแหลมมลายู
ทิศตะวันออก ครอบคลุมเมืองสระหลวงสองแคว (พิษณุโลก) ลุมบาจาย (หล่มเก่า) สระคา และข้ามฝั่งแม่น้ำโขงไปถึงเมืองเวียงจันทน์และเวียงคำ
ทิศตะวันตก ครอบคลุมเมืองฉอด หงสาวดี จนถึงชายฝั่งทะเลด้านอ่าวเบงกอล

ขณะเดียวกันพ่อขุนรามคำแหงมหาราชทรงใช้หลักธรรมในการปกครองเพื่อให้ประชาชนได้อยู่เย็นเป็นสุข ด้วยเหตุนี้จึงทำให้เจ้าเมืองต่าง ๆ เหล่านี้สำนึกในพระมหากรุณาธิคุณ ทำให้สุโขทัยปราศจากข้าศึกศัตรูในทุกทิศ นับได้ว่าในรัชสมัยพ่อขุนรามคำแหงมหาราช เป็นช่วงสมัยที่อาณาจักรสุโขทัยมีความเจริญรุ่งเรืองสูงสุด
หลังจากสิ้นรัชสมัยพ่อขุนรามคำแหงมหาราช มีกษัตริย์ขึ้นครองราชย์อีก 2 พระองค์ คือ พญาเลอไทย และพญางั่วนำถม แต่อาณาจักรสุโขทัยก็เริ่มเสื่อมอำนาจลง บรรดาเมืองต่าง ๆ ที่อยู่ภายใต้การปกครองของสุโขทัยได้แยกตัวเป็นอิสระและเมืองประเทศราชที่มีกำลังเข้มแข็งต่างพากันแยกตัวไม่ขึ้นต่อกรุงสุโขทัย เช่น เมืองพงสาวดี เมืองนครศรีธรรมราช เป็นต้น นอกจากนี้ในตอนปลายรัชสมัยพญางั่วนำถมยังเกิดจลาจลขึ้นอีก เนื่องจากมีการแย่งชิงราชสมบัติจนพญาลิไทยเจ้าเมืองศรีสัชนาลัยต้องยกกำลังมาปราบ ทำให้บ้านเมืองสงบลง
หลังทรงปราบจลาจลในกรุงสุโขทัยได้สำเร็จ พญาลิไทยได้ปราบดาภิเษกขึ้นเป็นกษัตริย์ครองราชสมบัติ ทรงพระนามว่า พระมหาธรรมราชาที่ 1 พระองค์ทรงพยายามสร้างอำนาจทางการเมือง เพื่อพัฒนาบ้านเมืองให้เข้มแข็งมาใหม่ อย่างไรก็ตามอาณาเขตของอาณาจักรสุโขทัยในรัชสมัยพระมหาธรรมราชาที่ 1 ก็ได้ลดลงไปมากกว่าครึ่งเมื่อเทียบกับสมัยพ่อขุนรามคำแหงมหาราช ต่อมาเมื่อสิ้นรัชสมัยของพระมหาธรรมราชาที่ 1 แล้ว มีพระมหากษัตริย์ขึ้นครองราชย์สืบต่อมาอีก 3 พระองค์ คือ พระมหาธรรมราชาที่ 2 พระมหาธรรมราชาที่ 3 (ไสลือไทย) และพระมหาธรรมราชาที่ 4 (บรมปาล) แต่ในช่วงเวลาดังกล่าวอาณาจักรสุโขทัยเริ่มเสื่อมอำนาจ

กรุงสุโขทัย มีกษัตริย์ปกครอง 9 พระองค์ ดังนี้
1. พ่อขุนศรีอินทราทิตย์
2. พ่อขุนบานเมือง
3. พ่อขุนรามคำแหงมหาราช
4. พญาเลอไทย
5. พญางั่วนำถม
6. สมเด็จพระมหาธรรมราชาที่ 1 (ลิไทย)
7. สมเด็จพระมหาธรรมราชาที่ 2
8. สมเด็จพระมหาธรรมราชาที่ 3 (ไสลือไทย)
9. สมเด็จพระมหาธรรมราชาที่ 4 (บรมปาล)

ที่มาและได้รับอนุญาตจาก : เอกรินทร์ สี่มหาศาล และคณะ . ประวัติศาสตร์ ป.4 . พิมพ์ครั้งที่ 2 . กรุงเทพ ฯ : อักษรเจริญทัศน์

พ่อขุนผาเมือง




เป็นบุคคลที่มีความสำคัญที่สุดผู้หนึ่งในการก่อตั้งอาณาจักรสุโขทัย[3] เป็นผู้นำอพยพไพร่พลจากบริเวณลุ่มน้ำคาย เมืองเชียงทอง หรือล้านช้าง หลวงพระบาง นำไพร่พลมาตั้งเมืองใหม่ริมลำน้ำพุง ตั้งแต่บ้านหนองขี้ควาย มาจนถึงบริเวณวัดกู่แก้ว สถาปนาอาณาจักรขึ้นให้เรียกว่าเมืองลุ่ม อาณาจักรแห่งนี้เดิมอยู่ในเขตอิทธิพลของขอม นอกจากนั้นยังปรากฏหลักฐานในนิทานโบราณคดีของสมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพที่ทรงสันนิษฐานว่า เหตุจะเกิดเมืองหล่มเก่า เห็นจะเป็นด้วยพวกราษฎรที่หลบหนีภัยอันตรายในประเทศล้านช้าง มาตั้งซ่องมั่วสุมกันอยู่ก่อน แต่เป็นที่ดินดีมีน้ำบริบูรณ์เหมาะแก่การทำเรือกสวนไร่นาและเลี้ยงโคกระบือ จึงมีพวกตามมาอยู่มากขึ้นโดยลำดับจนเป็นเมือง แต่เป็นเมืองมาครั้งสุโขทัย มีปรากฏในหลักศิลาจารึกของพ่อขุนรามคำแหงว่า เมืองลุ่ม ต่อมาภายหลังมาเรียกว่าเมือง หลุ่ม

ประวัติ

ประวัติของพ่อขุนผาเมืองนั้นมีหลายคนเคยศึกษาก็ล้วนแตกต่างกันไป แต่โดยส่วนใหญ่จะกล่าวกันว่า พ่อขุนผาเมืองมีมเหสีสองพระองค์ คือ พระนางปัทมาดี พระองค์ที่สองคือ พระนางปทุมดี ซึ่งทั้งสองพระองค์นี้เป็นพระขนิษฐาของพ่อขุนบางกลางหาว เจ้าเมืองบางยาง ซึ่งส่วนมากผู้คนเข้าใจกันว่าเป็นพระสหาย ในประวัติวัดตาลมีไว้ว่าผู้สร้างวัดนี้คือพระนางปัทมาดี ซึ่งมีหลวงพ่อโตเป็นพระพุทธรูปพระประทาน
ในปี พ.ศ. 1800 พ่อขุนบางกลางหาวและพ่อขุนผาเมือง ได้ริเริ่มคิดปราบปราม ขอมเพื่อปลดปล่อยอิสระของชนไท โดยนำกำลังไพร่พลเข้าทำการรบกับขอมจนเป็นอันผลสำเร็จ และประกาศเป็นอิสระจากขอม ตั้งแต่นั้นมา หลังจากชนะศึกและได้มเหสีองค์ใหม่คือ พระนางสิงขรเทวี และได้กลับมาที่เมืองราดจนเมืองราด (หล่มสัก) นั้นถูกเผา จนเกิดมีตำนานข้าวสารดำ นั้นมีการจารึกบรรยายอยู่ที่วิหารในวัดตาล อำเภอหล่มเก่า
อย่างไรก็สิ่งที่สามารถใช้เป็นหลักฐานที่ได้รับการยอมรับจากนักประวัติศาสตร์ใช้อ้างอิงได้นอกเหนือไปจากตำนานและเรื่องเล่าต่างๆที่กล่าวถึงพ่อขุนผาเมือง ในปัจจุบันมีเพียงศิลาจารึกสุโขทัยหลักที่ 2 เพียงชิ้นเดียว

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี