วันศุกร์ที่ 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

ประวัติเมือง เชียงใหม่




" นพบุรีศรีนครพิงค์เชียงใหม่ " หรือจังหวัดเชียงใหม่ในปัจจุบัน เป็นเมืองที่มีเรื่องราวความเป็นมาในอดีตมากมาย ดังในหลักฐานจารึก ปรากฎหลักฐานเริ่มขึ้นในสมัย พญามังรายกษัตริย์องค์ที่ 25 แห่งราชวงศ์ลาว เชื้อสายปู่เจ้า ลาวจก ได้ทรงเสด็จขึ้นครองราชย์ที่เมืองเงินยางเชียงแสนพระองค์ทรงรวบรวมหัวเมืองต่างๆ และได้ทรงขยายอำนาจลงไปทางใต้ โดยได้สร้างเมืองเชียงรายขึ้นเป็นศูนย์กลางของการรวบรวมเมืองเล็กๆในแถบลุ่มน้ำกก และตั้งแคว้นขึ้น ชื่อว่า แคว้นโยน หรือโยนก จากนั้น
พระองค์ทรงขยายอำนาจเข้าสู่ลุ่มน้ำปิงเพื่อยึดครองแคว้น หริภูญไชย พระองค์ทรงใช้เวลานานถึง 8 ปีจึงสามารถตี แคว้นหริภุญไชยได้ต่อมาพระองค์ทรงผนวกหริภูญไชยเข้าเป็นส่วนหนึ่งของแคว้นโยนก กลายมาเป็น อาณาจักรล้านนา ที่เรารู้จักกันในปัจจุบัน
ต่อมาในปีพุทธศักราช 1837 พญามังรายได้สร้างเมืองใหม่ขึ้นทางเหนือ ของแคว้นหริภุญไชย แต่บริเวณดังกล่าวเกิด น้ำท่วมบ่อยครั้ง (เวียงกุมกามในปัจจุบัน)
พระองค์จึงตั้งเมืองแห่งใหม่ และที่เหมาะสมบริเวณที่ราบลุ่มแม่น้ำปิงเชิงดอยสุเทพ ซึ่งเป็นบริเวณที่สะดวกในการทำการค้าขาย
ทั้งทางบกและทางน้ำ และยังง่ายต่อการควบคุมหัวเมืองต่างๆ
ในปี พ.ศ. 1839 พญามังรายได้เชิญพระสหาย คือ พญางำเมือง และ พญาร่วง
( พ่อขุนรามคำแหง)มาหารือเรื่องการวางผังสร้างเมืองและทั้งสามพระองค์
ก็ได้ร่วมสถาปนาเมืองแห่งนี้ว่า"นพบุรีศรีนครพิงค์เชียงใหม่" พญามังรายได้พัฒนาทั้งการก่อสร้างวัดวาอาราม มีการตรากฎหมายที่เรียกว่า "มังรายศาสตร์"รวมถึงรับเอาพุทธศาสนานิกายลังกาวงศ์เข้ามาเผยแพร่ในอาณาจักร
ซึ่งทำให้พระภิกษุในล้านนาสนใจศึกษาพระพุทธศาสนาเป็นอย่างมาก สมัยพระเจ้าติโลกราชกษัตริย์องค์ที่9อาณาจักรของล้านนาได้ขยายออกไปอีกอย่างกว้างขวางพร้อมกับได้ผูกสัมพันธไมตรีกับสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถแห่งกรุงศรีอยุธยาซึ่งในสมัยพระเจ้าติโลกราชนี้เองที่ได้มีการสังคายนาพระไตรปิฏกขึ้นเป็นครั้งแรกในประเทศไทยอาณาจักรลานนาเริ่มเสื่อมลงในปลายสมัยพญาเมืองแก้ว
เนื่องจากทำสงครามกับเชียงตุงพ่ายแพ้และเสียชีวิตไพร่พลเป็นอันมาก ประกอบกับอุทกภัย กระทบถึงความมั่นคงของอาณาจักรเมืองในการปกครองเริ่มตีตัวออกห่าง ในปี พ.ศ.2101 ในสมัยพระมหาเทวีจิรประภา กษัตริย์องค์ที่ 15พม่าได้ยกกองทัพมาตีเชียงใหม่ เพียงสามวันก็เสียเมืองและกลายเป็นเมืองขึ้นของพม่ายาวนานถึง 216 ปีต่อมาในปี พ.ศ.2317 พญาจ่าบ้านและพระเจ้ากาวิละ ได้ร่วมกันต่อต้านพม่า และอัญเชิญสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช แห่งกรุงธนบุรี ยกทัพขับไล่พม่าพ่ายแพ้ไป ต่อมาสมัยสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ได้ทรงแต่งตั้งพระเจ้ากาวิละขึ้นครองเมืองในฐานะเมืองประเทศราช พระเจ้ากาวิละได้ทรงพื้นฟูเมืองเชียงใหม่ จนมีอาณาเขตกว้างขวาง การค้าขายรุ่งเรือง ขณะเดียวกันก็จัดส่งบรรณาการ ส่วยสิ่งของและอื่นๆ ให้แก่กรุงรัตนโกสินทร์ซึ่งยังมีอำนาจในการแต่งตั้งตำแหน่งเจ้าเมืองและขุนนางระดับล่วงมาถึงสมัยราชการที่5 เมื่ออิทธิพลตะวันตกแผ่เข้ามาในเมืองไทย
มีการปฏิรูปการปกครอง โดยผนวกดินแดนล้านนาเข้ากับมณฑลพายัพ แต่ก็ยังเป็นเมืองประเทศราชในอาณัติราชอาณาจักรสยาม ตรงกับสมัยของเจ้าอินทวิชยานนท์ และราชการที่5ได้ทรงขอเจ้าดารารัศมี ธิดาของเจ้าอินทวิชยานนท์ไปเป็นชายา เจ้าดารารัศมีเป็น
ผู้ทำให้ความสัมพันธ์ระหว่างสองอาณาจักรใกล้ชิดกันยิ่งขึ้น เมื่อมีการสร้างทางรถไฟขึ้นในเวลาต่อมา ส่งผลให้ตัวเมืองเชียงใหม่
ขยายตัวยิ่งขึ้นและใกล้ชิดกรุงเทพฯ มากขึ้น ในปี พ.ศ.2475เกิดการเปลี่ยนแปลงการปกครอง มณฑลเทศภิบาลถูกยกเลิกเชียงใหม่มีฐานะเป็นจังหวัดหนึ่ง ของประเทศไทย หลังจากนั้นเชียงใหม่พัฒนาขึ้นเรื่อยๆจนกลายเป็นจังหวัดใหญ่ที่สำคัญ
รองลงมาจากกรุงเทพฯเท่านั้น

ที่มา http://www.chiangmai-guideline.com

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น